เทคนิคการถ่ายภาพพลุ
พอถึงช่วงเทศกาลสำคัญๆ ต่างๆ
ผู้ชื่นชอบถ่ายรูปก็จะรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ถ่ายภาพ
และได้ภาพที่สวยงามมาเก็บไว้เป็นอัลบัมของตัวเอง
และพลุก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่างภาพชื่นชอบเป็นอย่างมาก
เพราะมีความสวยงามและแปลกตาซึ่งคงไม่ได้หาถ่ายได้ง่ายๆทั่วไป
ดังนั้นเมื่อใกล้เทศกาลต่างๆ ช่างภาพก็จะเริ่มเตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม
ใครขาดอุปกรณ์อะไรก็หาเตรียมกันไว้เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามสมกับการรอคอย
นอกจากอุปกรณ์แล้วเทคนิคการถ่ายภาพและความคิดสร้างสรรก็สำคัญในการเก็บภาพ
พลุเช่นเดียวกัน
การถ่ายภาพพลุก็คงไม่ต่างกับการถ่ายภาพในเวลากลาง
คืน เนื่องจากเป็นภาพที่มีแสงสว่างค่อนข้างน้อย
แต่อาจจะซับซ้อนขึ้นอีกเล็กน้อยเนื่องจากเป็นภาพที่คาดเดาได้ยาก
แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าความสามารถของเราหรอกครับ
ก่อนอื่นเราต้องทราบกำหนดและสถานที่จัดงานก่อนเป็นอันดับแรก
เพื่อที่จะได้เตรียมตัวหาสถานที่และมุมสวยๆ
มาเริ่มดูเทคนิคการถ่ายรูปพลุกันเลยดีกว่าครับ
เลือกหามุมที่เหมาะสม
หลายท่านอาจสงสัยว่าจะหามุมสวยไปทำไมกัน ก็เมื่อพลุถูกส่งขึ้นท้องฟ้า
เราก็ถ่ายพลุกับฉากหลังที่เป็นท้องฟ้า มุมไหนก็เหมือนกันทั้งนั้นนิหน่า
จริงๆแล้วก็ไม่ผิดหรอกครับที่เราจะได้ภาพพลุสวยๆกับฉากหลังที่เป็นท้องฟ้า
แต่ถ้าเราสามารถเพิ่มฉากหลังให้มีมากกว่าท้องฟ้าได้ เช่น
สะพานที่ประดับไฟสวยๆ หรือไฟจากอาคารบ้านเรือนเข้ามาประกอบด้วยแล้ว
ภาพของเราจะเริ่มมีเรื่องราวเข้ามาประกอบ
และเพิ่มความสวยงามให้ภาพถ่ายมากขึ้นไปอีกก็ได้นะครับ
เตรียมตัวหามุมสวยๆก่อนที่งานจะเริ่ม ไม่อย่างนั้นจะมีคนจับจองไปหมดนะครับเลือกใช้เลนส์ให้เหมาะสม
อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาพที่เราต้องการเป็นหลักครับ ถ้าเราเลือกให้เลนส์เทเลโฟโต้ที่ช่วงยาวๆ เราก็จะได้รูปพลุที่ใกล้เข้ามา แต่ก็จะขาดฉากหลังไป ถ้าใครใช้เลนส์มุมกว้างก็จะได้ฉากหลังแต่ภาพพลุก็จะดูไกลออกไปสักหน่อย ถ้าเป็นไปได้ก็ใช้เลนส์อเนกประสงค์ไปเลยดีกว่าครับ อยากจะได้ภาพกว้างก็ซูมออกหรืออยากได้ภาพเฉพาะพลุก็ซูมเข้ามาสะดวกกว่า เยอะนะครับสำหรับผู้ที่อยากได้ทั้งสองแบบ
ใช้รูรับแสงที่ค่อนข้างแคบ
จริงๆแล้วความสว่างของแสงไฟในขณะนั้นก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกรูรับ แสงให้แคบหรือกว้าง โดยสภาพแสงในขณะนั้นค่อนข้างสว่างก็ควรเปิดรูรับแสงให้แคบลง แต่ถ้าค่อนข้างมืดก็เปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความชัดลึกชัดตื้น ซึ่งการถ่ายภาพพลุก็คงไม่ต่างกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ที่นิยมภาพที่ค่อน ข้างมีความชัดลึก ดังนั้นควรเปิดรูรับแสงให้ค่อนข้างแคบไว้ก่อน แต่ก็คงจะไม่ต้องดันให้แคบที่สุดก็ได้นะครับ ดูสภาพแสงในขณะนั้นด้วยอาจใช้รูรับแสงประมาณ f/8 ขึ้นไปก็น่าจะเพียงพอ
ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆไว้ก่อน
เนื่องจากการยิงพลุขึ้นสู่ท้องฟ้าอาจอาศัยเวลาประมาณ 5 – 10 วินาที ตั้งแต่พลุวิ่งเป็นสายขึ้นสู่ท้องฟ้า และแตกกระจายบนท้องฟ้า หลังจากนั้นประกายของพลุก็จะค่อยๆตกลงมาและดับไป ดังนั้นเพื่อให้ได้ภาพพลุตั้งแต่ต้นจนจบ เราคงต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ค่อนข้างต่ำเพื่อเก็บภาพทั้งหมดของพลุ แต่เราอาจต้องคำนึงถึงสภาพแสงด้วยนะครับ อย่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจนกระทั่งภาพที่ได้ over จนเกินไปบางท่านใช้ชัตเตอร์ B เพื่อเก็บภาพเพราะสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าใครยังไม่ทราบถึงการใช้ชัตเตอร์ B ควรศึกษาจากคู่มือกล้องก่อนที่จะไปถ่ายนะครับ เพราะการใช้ชัตเตอร์ B ในการถ่ายภาพพลุจะทำให้การถ่ายภาพสะดวกขึ้นมากทีเดียวครับ
ถ้าเลือกได้เลือก ISO ต่ำดีกว่า
ในการถ่ายภาพพลุนั้นบางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็ว ขึ้นเพื่อให้ได้ภาพที่เราต้องการ ดังนั้นอาจต้องใช้ ISO ที่สูงขึ้น แต่ก็อย่างที่ทราบว่าเมื่อเราดัน ISO ขึ้นสูงจะมีโอกาสที่จะเกิดน๊อยได้ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนมืด แต่ถ้าเราสามารถเลือกได้ควรกำหนด ISO ให้ต่ำที่สุดดีกว่าครับ ภาพของเราจะได้ไม่มีน๊อยขึ้นมารบกวน
จะง่ายกว่าถ้าเปลี่ยนโหมดถ่ายภาพเป็นแมนนวล
ก็อย่างที่ทราบกันว่า เมื่อเราจำเป็นต้องกำหนดทั้งรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO ดังนั้นเราควรปรับกล้องเป็นระบบแมนนวลเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมกล้อง เพราะระบบ Auto จะทำให้เราควบคุมกล้องยากขึ้นครับ
รอจังหวะให้ดีๆ
จังหวะที่เรากดชัตเตอร์เปิดนั้นเราจะเริ่มกดตั้งแต่เห็นไฟวิ่งขึ้นสู่ ท้องฟ้า และรอจังหวะที่ไฟแตกออก พอไฟเริ่มย้อยลงก็กดชัตเตอร์ปิดทันที (กรณีใช้ชัตเตอร์ B) ทั้งหมดนี้เราก็จะได้ภาพพลุที่สมบูรณ์ทั้งแต่ไฟที่วิ่งขึ้นและพลุที่กระจาย เต็มท้องฟ้า
ได้ใช้ขาตั้งกล้องสักที
หลายท่านที่มีขาตั้งกล้องและเก็บไว้ไม่ค่อยได้ใช้ คงจะได้ใช้ก็งานนี้แหละ เนื่องจากการใช้ชัตเตอร์ที่ค่อนข้างช้า ทำให้การใช้มือถือกล้องในการถ่ายภาพ และได้ภาพที่คมชัด เกือบเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นรีบนำขาตั้งกล้องมาเช็ดฝุ่นกันดีกว่าครับ หลายท่านอาจจะบอกว่า ก็ตั้งกล้องไว้บนโต๊ะหรือบนระเบียงไม่ได้หรือ จริงๆแล้วก็ได้นะครับแต่การจัดมุมภาพอาจจะยากนิดนึง หรือถ้าวางไม่ระวังกล้องของเราอาจจะเสียหายได้นะครับ ถ้าใช้ขาตั้งกล้องได้ก็จะสะดวกขึ้นมากครับ
สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมท
ถึงแม้ว่าเราจะวางกล้องบนขาตั้งกล้องแล้วก็ตาม แต่จังหวะที่เรากดปุ่มชัตเตอร์นั้นอาจเกิดการสั่นไหวของตัวกล้องได้ และการตั้งเวลาถ่ายรูปที่ใช้กันเมื่อไม่มีสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมท อาจจะไม่เหมาะสมในสถานการณ์นี้เนื่องจากภาพพลุจะเกิดขึ้นเมื่อไร คงจะคาดเดาได้ยาก ไม่เหมือนการถ่ายภาพไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นถ้าใครมีสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทก็จะได้เปรียบในการถ่ายภาพเพื่อให้ ได้ภาพที่ค่อนข้างคมชัดขึ้นอีกระดับหนึ่งนะครับ
เทคนิคเพิ่มเติม
เราอาจจะลองวัดแสงฉากหน้าและหลังของเราก่อนที่จะมีการจุดพลุเพื่อให้ทราบ คร่าวๆของค่ารูรับแสงนะครับ และเมื่อพลุลูกแรกยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าก็เริ่มจัดองค์ประกอบภาพ และลองถ่ายภาพดูเพื่อดูความสว่างของภาพ หลังจากนั้นคงต้องรีบปรับความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงให้เหมาะสมอย่างรวด เร็วนะครับ
การถ่ายภาพพลุอาจต้องอาศัยความชำนาญในการปรับกล้องพอ สมควร เนื่องจากภาพที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวที่ดี ก็จะมีโอกาสได้ภาพที่ดีตามไปด้วยนะครับ ถ้ามีภาพพลุที่ไหนก็อย่างลืมออกไปเก็บภาพสวยๆกลับมานะครับ
ข้อมูล
https://www.facebook.com/PanyanonPhotographer