เคล็ดลับการถ่ายภาพเด็ก
วัตถุประสงค์ของการซื้อกล้องถ่ายภาพของหลายๆท่านก็เพื่อถ่ายภาพบุคคลที่ใกล้
ชิด ซึ่งรวมถึงการถ่ายรูปเด็กๆที่ท่านรู้จักด้วย
ซึ่งหลายท่านอาจซื้อกล้องถ่ายภาพมาเพื่อถ่ายภาพของบุตรหลาน
เพื่อที่จะเก็บความน่ารักสดใสเอาไว้
แต่หลายท่านก็จะพบปัญหาของการถ่ายภาพลักษณะนี้
เนื่องจากการถ่ายภาพเด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกให้เด็กทำตามที่ต้องการได้
เหมือนการถ่ายภาพ Portrait ทั่วไปที่เราจะสามารถจัดท่าทางของนางแบบได้
ซึ่งความยากง่ายก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของการถ่ายภาพนะครับ
เรามาเริ่มกับเทคนิคการถ่ายภาพเด็กกันเลยดีกว่าครับ
เลือกเลนส์ที่เหมาะสม
การเลือกเลนส์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพลักษณะนี้ เนื่องจากหลายท่านอาจมีข้อจำกัดของสภาพแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ ดังนั้นเลนส์ที่มีความไวแสงสูงหรือสามารถปรับรูรับแสงได้กว้างๆ ก็จะได้เปรียบและมีโอกาสได้ภาพที่คมชัดมากกว่า โดยรูรับแสงควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า f/4 ซึ่งเลนส์ที่ใช้อาจจะเป็นเลนส์มุมกว้างหรือเลนส์เทเลก็ได้ โดยถ้าเด็กไม่คุ้นเคยกับกล้องถ่ายภาพเราอาจต้องใช้เลนส์เทเล เพื่อให้อยู่ห่างจากตัวเด็กเพื่อที่เวลาถ่ายภาพเด็กจะไม่สังเกตเห็นว่าเรา กำลังถ่ายภาพอยู่ แต่ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพที่อยู่ในมุมแคบซะส่วนใหญ่ โดยถ้าเราต้องการเก็บสภาพแวดล้อมมาด้วยก็จำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้างหรือ เลนส์นอมอลในการถ่ายภาพนะครับเลือกระบบวัดแสงเฉพาะจุดหรือเฉลี่ยหนักกลาง
ในบางครั้งสภาพแสงอาจแตกต่างกันมากระหว่างสภาพแวดล้อมกับตัวแบบแต่ด้วย การถ่ายรูปลักษณะนี้อาจจะต้องอาศัยความรวดเร็วในการถ่ายเนื่องจากภาพที่เรา ต้องการอาจเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าตัวแบบที่เราถ่ายได้รับแสงที่พอดีไม่มืดหรือสว่าง เกินไป จึงควรเปลี่ยนระบบวัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุดหรือเฉลี่ยหนักกลางและเลือกวัดแสง ที่หน้าของเด็กนะครับ
เลือกระบบโฟกัสเป็นแบบต่อเนื่อง
เนื่องจากเด็กมีความซุกซนและไม่ค่อยอยู่นิ่งกับที่ ดังนั้นระบบโฟกัสแบบต่อเนื่องจะช่วยให้เราได้ภาพที่คมชัดขึ้นโดยการวางจุด โฟกัสไว้ที่บริเวณใบหน้าของเด็กตลอดเวลาของการถ่ายภาพ เมื่อได้จังหวะแล้วก็สามารถกดถ่ายภาพได้ทันทีเลยครับ
ใช้ระบบถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง
ระบบถ่ายภาพแบบต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราได้ภาพดีๆเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาพที่ดีๆบางครั้งจะเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที ดังนั้นในบางจังหวะเราอาจจะกดชัตเตอร์รัวเพื่อให้ได้ภาพทุกจังหวะที่ต้องการ และนำมาเลือกให้ภายหลังก็ได้นะครับ
เลือกรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสม
การเลือกรูรับแสงกว้างจะทำให้ฉากหลังเบลอมากกว่าการใช้รูรับแสงที่แคบและ เพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวแบบมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเก็บรายละเอียดของฉากหลังแค่ไหน โดยถ้าเราต้องการให้เห็นฉากหลังว่าอยู่ในสถานที่ใดก็อาจจะต้องปรับรูรับแสง ให้แคบลง แต่อย่างไรก็ตามเราคงต้องคำนึงถึงความเร็วชัตเตอร์ด้วย โดยถ้าความเร็วชัตเตอร์ไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้ภาพที่ออกมาเบลอได้เช่นเดียว กัน
ดังนั้นวิธีปรับตั้งให้เหมาะสมเราควรจะเริ่มปรับรูรับแสงก่อน เพื่อให้ได้ความชัดตื้นชัดลึกเหมาะสมและได้ภาพที่เราต้องการ แต่ถ้าขนาดของรูปรับแสงนั้นทำให้ความเร็วชัตเตอร์ไม่เพียงพอเราก็ใช้ ISO ช่วยโดยการดัน ISO เพิ่มสูงขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้นนั่นเอง (ลองอ่านบทความการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และ ISO เพิ่มเติมได้นะครับ) โดยเราสามารถปรับระบบกล้องให้เป็นโหมดที่ผู้ใช้สามารถปรับรูรับแสงเอง โดยกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ (Aperture Priority) เพื่อช่วยให้เราถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นครับ
เลือกสภาพแสงที่มีแสงนุ่ม
การถ่ายภาพเด็กก็เหมือนกับการถ่ายภาพ Portrait ทั่วไปโดยภาพที่ออกมาควรมีแสงที่ใกล้เคียงกันไม่ควรให้ด้านหนึ่งสว่างและอีก ด้านหนึ่งมืด ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่แตกต่างกันมากเกินไป เราอาจจะเลือกถ่ายภาพในที่ร่มหรือภายในอาคารต่างๆ หรือสนามเด็กเล่นหรือสนามหลังบ้านที่อยู่ในที่ร่มนะครับ โดยเราควรใช้แสงที่เป็นธรรมชาติและไม่ควรใช้แฟลชเนื่องจากแสงแฟลชอาจจะทำให้ เป็นแสงแข็งและอาจเป็นอันตรายกับดวงตาของเด็กได้หรืออาจทำให้เด็กกลัวการ ถ่ายภาพไปเลยนะครับ
รอเวลาที่เหมาะสม
เราไม่ควรบังคับเด็กในการถ่ายภาพ เนื่องจากจะทำให้ความสดใจร่าเริงของเด็กหายไปและอาจจะทำให้เด็กกลัวการถ่าย ภาพไปเลยก็ได้นะครับ ดังนั้นเราควรให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอซะก่อน โดยเมื่อเด็กเริ่มเล่นเราควรรอให้เด็กเริ่มคุ้นเคยและเริ่มเล่นอย่างสนุก สนานเราจึงค่อยเริ่มเก็บภาพไปเรื่อยๆ ในบางครั้งเราอาจถ่ายภาพโดยไม่ให้เด็กรู้ตัวซึ่งก็จะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติ ได้ดียิ่งขึ้นนะครับ
การถ่ายภาพเด็กไม่ได้ยากเกินไปสำหรับเราหรอก ครับแต่อาจต้องอาศัยความอดทนเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ภาพดี และไม่ควรบังคับเด็กในการถ่ายภาพนะครับ เราควรรอเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพและก็จะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติและสามารถ เก็บความน่ารักสดใสของเด็กเพื่อเอาไว้ดูเล่นยามว่างได้นะครับ
ขอบคุณข้อมูล
https://www.facebook.com/PanyanonPhotographer
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น