วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพหมอก

เทคนิคการถ่ายภาพหมอก 

 หมอกเป็นภาพหนึ่งที่ท้าทายความสามารถของ นักถ่ายภาพ และเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน มีนักถ่ายภาพหลายท่านที่เดินทางเป็นระยะทางไกลๆ เพื่อเก็บภาพของหมอก  เนื่องจากหลงไหลในความสวยงามของมัน เรามาเก็บเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ในการถ่ายภาพหมอก จากบทความนี้กันดีกว่า เพื่อที่ว่า เมื่อเราได้มีโอกาสได้เห็นและได้ถ่ายรูปครั้งต่อไป จะได้ไม่พลาดภาพหมอกสวยๆมาอวดเพื่อนกัน

ชดเชยแสงทางบวก

พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมอกจะมีสีขาว ดังนี้นเมื่อเราวัดแสงในพื้นที่สีขาวโดยตรงจะทำให้สีขาวเป็นสีออกเทาๆ หม่นๆ (ใครลืมแล้วลองกลับไปอ่านบทความเรื่อง “การวัดแสง” อีกครั้งนะครับ) ดังนั้นเพื่อให้หมอกเป็นสีขาว ลองปรับชดเชยแสงไปทางบวกเพิ่มขึ้น

ปรับคอนทราสต์ (Contrast)
เพิ่มสูงขึ้น

เนื่องจากหมอกมีพื้นที่เป็นสีขาวส่วน ใหญ่บางครั้งเมื่อเราถ่ายภาพหมอกจะเห็นเป็นสีขาวทั่วไปหมด ทำให้ภาพที่ออกมาไม่มีมิติ วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือการปรับคอนทราสต์ให้สูงขึ้น จะทำให้ภาพหมอกที่เป็นสีขาวจะชัดเจนขึ้นและส่วนที่เป็นสีดำ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือพื้นดินก็จะเห็นชัดเจนขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะเพิ่มความสวยงามของภาพมากขึ้น สำหรับการปรับคอนทราสต์สามารถเข้าไปปรับได้จาก Picture Style นะครับ

ปรับรูรับแสงให้แคบ

เพื่อให้เราเห็นภาพวิวทั้งภาพที่ชัดเจน คือมีลักษณะชัดลึก (ชัดตั้งแต่ด้านหน้าไปถึงด้านหลัง) จึงควรปรับรูรับแสงให้แคบไว้ก่อน แต่ส่วนใหญ่การถ่ายภาพหมอกจะถ่ายในตอนช่วงเช้าซึ่งพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นดี อาจทำให้ภาพมืดได้ ดังนั้นเราอาจต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลงหรือเพิ่ม ISO เพื่อลดความสั่นไหวของภาพ หรืออาจต้องใช้ขาตั้งกล้องถ้าความเร็วชัตเตอร์ของเราต่ำเกินกว่าที่จะถ่าย ด้วยมือได้

เลือกช่วงเวลาที่ถ่าย

ภาพหมอกส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในตอนช่วง เช้า และจะสวยมากเมื่อมีแสงอาทิตย์ยามเช้าที่กำลังจะขึ้นจากขอบฟ้าส่องเข้ามาที่ หมอก ดังนั้นผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพหมอก อาจจำเป็นต้องตื่นเช้าสักหน่อยเพื่อเก็บภาพที่สวยงามของหมอก
สุดท้ายก็คงเป็นเรื่องความปลอดภัยของ เราเอง ทั้งการเดินทางเพื่อไปถ่ายภาพหมอก หรือในขณะถ่ายภาพหมอก โดยอย่าเล็งกล้องไปยังพระอาทิตย์โดยตรงนะครับ แสงอาทิตย์จะทำให้ตาของท่านได้รับอันตรายได้ และก็อย่าเพลินกับการหามุมจนพลาดหกล้มนะครับ ขอให้ถ่ายภาพหมอกกันอย่างสนุกและเก็บภาพสวยๆ กลับมานะครับ


ขอบคุณข้อมูล
 www.ideophoto.com
 https://www.facebook.com/PanyanonPhotographer
 

 

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การวัดแสง

การวัดแสง

หลายท่านคงเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการวัด แสงเวลาถ่ายภาพกันมาบ้าง ผมเองก็เคยมีปัญหากับเรื่องการวัดแสงมากทีเดียว ปัญหาหลักๆคือผมไม่ทราบว่าต้องวัดแสงตรงจุดไหนถึงให้ค่าแสงที่พอดี ถึงแม้ในระบบวัดแสงของกล้องจะแสดงว่าได้ค่าแสงที่พอดีแล้วแต่เมื่อผมลองดู ภาพกลับได้ภาพที่สว่างไปบ้าง มืดไปบ้าง งั้นเรามาเริ่มศึกษาวิธีการวัดแสงไปพร้อมๆกันดีกว่าครับ
                                                                   



ก่อนอื่นคงต้องเข้าใจเกี่ยวกับระบบ การวัดแสงของกล้องก่อน โดยกล้องแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะมีระบบวัดแสงแตกต่างกันบ้าง แต่ก็คงจะอยู่ในหลักการที่ใกล้เคียงกัน โดยกล้องจะมีระบบวัดแสงให้เราได้เลือกใช้กันหลายแบบ ซึ่งในแต่ละแบบจะถูกนำมาใช้ตามสภาพแสงและขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ถ่าย ภาพเป็นหลัก.....เรามาดูกันดีกว่าว่าระบบวัดแสงหลักๆ มีอะไรบ้าง

วัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ (Evaluative metering) เป็นการวัดค่าแสงในพื้นที่ทั้งหมดของภาพและนำค่าแสงในแต่ละจุดของภาพมาคำนวณเฉลี่ยเป็นค่าแสงที่เหมาะสม

วัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted average metering) เป็นการนำค่าแสงทุกส่วนของภาพมาแต่ให้ความสำคัญกับค่าแสงในส่วนตรงกลางมากกว่าในการคำนวณค่าแสง
วัดแสงเฉพาะส่วน (Partial metering) เป็นการนำค่าแสงเฉพาะบางส่วนของภาพ ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงกลางภาพ มาคำนวณค่าแสง

วัดแสงเฉพาะจุด (Spot metering) มีลักษณะคล้ายๆกับการวัดแสงเฉพาะส่วน โดยเป็นการนำค่าแสงเฉพาะบางจุด (เล็กกว่าเฉพาะส่วน) มาคำนวณค่าแสง


เมื่อทราบเกี่ยวกับระบบวัดแสงกัน แล้ว มาเริ่มดูวิธีการวัดแสงกันเลยดีกว่าครับ ปกติกล้องที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่สามารถมองเห็นอย่างที่มนุษย์เห็นได้ ดังนั้นกล้องจึงต้องใช้ค่ามาตรฐานค่าหนึ่งในการกำหนดว่าค่าดังกล่าวคือค่า แสงที่พอดี โดยค่าดังกล่าวคือสีเทากลาง 18% ตามที่เราเคยได้ยินกันมา ดังนั้นเมื่อเราวัดแสง ณ จุดไหนกล้องจะปรับให้จุดนั้นมองเห็นเป็นค่าเทากลาง 18%


มาลองดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ ถ้าเราใช้วิธีวัดแสงแบบเฉพาะจุดและให้กล้องปรับค่ารูรับแสง หรือ ความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัตินะครับ เมื่อเรานำจุดวัดแสงวัดวัตถุที่เป็นสีดำกล้องจะปรับ (เปลี่ยนค่ารูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์) จุดนั้นให้มีค่าแสงพอดี คือปรับให้จุดดังกล่าวเป็นที่เทากลาง 18% ดังนั้นเมื่อเราถ่ายวัตถุที่เป็นสีดำ และวัดแสง ณ จุดนั้นวัตถุดังกล่าวจะไม่เป็นสีดำสนิท โดยจะเปลี่ยนเป็นสีเทากลาง 18% แทน ลองมาดูอีกตัวอย่างนะครับ ถ้าเราถ่ายวัตถุสีขาว และเราวัดแสงที่วัตถุสีขาวดังกล่าวโดยวิธีวัดแสงเฉพาะจุด กล้องจะปรับวัตถุสีขาวให้เป็นสีเทากลาง 18% เช่นกัน เพราะฉะนั้นสีขาวจะกลายเป็นสีเทากลาง 18%



หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วเราควรจะวัดแสงที่จุดไหน จริงๆแล้วเราสามารถวัดแสงที่จุดไหนก็ได้ แล้วแต่ความถนัด ให้เราลองจินตนาการว่าภาพของเราเป็นภาพขาวดำทั้งหมด สีที่เข้มๆ เมื่อเป็นภาพขาวดำก็จะเป็นสีเข้มๆ ซึ่งน่าจะเกินสีเทา 18% ส่วนสีที่เป็นสีอ่อนมากๆ เมื่อเป็นขาวดำก็จะเป็นสีเทาที่ต่ำว่า 18% ถ้าเกิดเราต้องการวัดแสงให้ตรงเลยก็ต้องมองหาวัตถุที่เมื่อแปลงเป็นสีขาวดำ แล้ว จะให้ค่าที่เป็นสีเทา 18% นั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วตาเราคงไม่ได้วัดแสงได้เก่งขนาดนั้น ดังนั้นถ้าเราเลือกวัดแสงในวัตถุสีเข้มๆ เราก็ต้องปรับกล้องของเราเองให้ภาพมืดลง (ชดเชยแสงทางลบ) ก่อนที่จะถ่ายเพราะถ้าเราไม่ทำ วัตถุที่เป็นสีเข้มนั้นก็จะกลายเป็นสีเทากลาง 18% ในภาพขาวดำ ทำให้ทั้งภาพดูสว่างเกินกว่าความเป็นจริง หรือในทางกลับกันถ้าเราเลือกวัดแสงจากวัตถุที่เป็นสีขาว เราก็ต้องปรับกล้องของเราให้มีภาพสว่างขึ้น (ชดเชยแสงทางบวก) ก่อนที่จะถ่ายเพราะไม่อย่างนั้นภาพสีขาวก็จะกลายเป็นสีเทากลาง 18% และส่วนอื่นๆในภาพก็จะดูหม่นๆไป ดังนั้นบางท่านถึงเลือกวัดแสงในวัตถุที่เป็นสีเขียว เนื่องจากเมื่อแปลงเป็นภาพขาวดำแล้ว น่าจะมีสีใกล้เคียงกับสีเทา 18% ค่อนข้างมาก


ส่วนเราควรจะปรับค่าเท่าใดนั้นก็คง บอกไม่ได้เพราะขึ้นกับสภาพของแสงในขณะนั้น ลองนำไปปฏิบัติดูครับ ถ้าเราเข้ากันในหลักการนี้แล้วต่อไปการวัดแสงก็คงจะไม่ใช่อุปสรรคของเราอีก ต่อไป ทดลองถ่ายภาพบ่อยๆ วัดแสงบ่อยๆ ต่อไปก็จะชำนาญเองครับ


เพิ่มเติม
การชดเชยแสงมีทั้งทางด้านลบและด้านบวกโดยมีวิธีใช้ที่ง่ายมากคือ ถ้าเราเลื่อนขีดในระบบชดเชยแสงไปด้านเครื่องหมายลบ (ชดเชยแสงทางลบ) ซึ่งจะทำให้ภาพมืดลง ในทางกลับกันถ้าเราเลื่อนขีดในระบบชดเชยแสงไปด้านเครื่องหมายบวก (ชดเชยแสงทางบวก) ซึ่งทำให้ภาพสว่างขึ้น ลองอ่านคู่มือเกี่ยวกับการวิธีการชดเชยแสงในกล้องแต่ละยี่ห้อดูนะครับ


ขอบคุณข้อมูล
 http://panyanonphotos.blogspot.com
 www.ideophoto.com

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพเด็ก

เทคนิคการถ่ายภาพเด็ก 

วัตถุประสงค์ของการซื้อกล้องถ่ายภาพของหลายๆท่านก็เพื่อถ่ายภาพบุคคลที่ใกล้ ชิด ซึ่งรวมถึงการถ่ายรูปเด็กๆที่ท่านรู้จักด้วย ซึ่งหลายท่านอาจซื้อกล้องถ่ายภาพมาเพื่อถ่ายภาพของบุตรหลาน เพื่อที่จะเก็บความน่ารักสดใสเอาไว้ แต่หลายท่านก็จะพบปัญหาของการถ่ายภาพลักษณะนี้ เนื่องจากการถ่ายภาพเด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกให้เด็กทำตามที่ต้องการได้ เหมือนการถ่ายภาพ Portrait ทั่วไปที่เราจะสามารถจัดท่าทางของนางแบบได้ ซึ่งความยากง่ายก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของการถ่ายภาพนะครับ เรามาเริ่มกับเทคนิคการถ่ายภาพเด็กกันเลยดีกว่าครับ
 

                                             

 

 
เลือกเลนส์ที่เหมาะสม

การเลือกเลนส์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพลักษณะนี้ เนื่องจากหลายท่านอาจมีข้อจำกัดของสภาพแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ ดังนั้นเลนส์ที่มีความไวแสงสูงหรือสามารถปรับรูรับแสงได้กว้างๆ ก็จะได้เปรียบและมีโอกาสได้ภาพที่คมชัดมากกว่า โดยรูรับแสงควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า f/4 ซึ่งเลนส์ที่ใช้อาจจะเป็นเลนส์มุมกว้างหรือเลนส์เทเลก็ได้ โดยถ้าเด็กไม่คุ้นเคยกับกล้องถ่ายภาพเราอาจต้องใช้เลนส์เทเล เพื่อให้อยู่ห่างจากตัวเด็กเพื่อที่เวลาถ่ายภาพเด็กจะไม่สังเกตเห็นว่าเรา กำลังถ่ายภาพอยู่ แต่ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพที่อยู่ในมุมแคบซะส่วนใหญ่ โดยถ้าเราต้องการเก็บสภาพแวดล้อมมาด้วยก็จำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้างหรือ เลนส์นอมอลในการถ่ายภาพนะครับ


เลือกระบบวัดแสงเฉพาะจุดหรือเฉลี่ยหนักกลาง
ในบางครั้งสภาพแสงอาจแตกต่างกันมากระหว่างสภาพแวดล้อมกับตัวแบบแต่ด้วย การถ่ายรูปลักษณะนี้อาจจะต้องอาศัยความรวดเร็วในการถ่ายเนื่องจากภาพที่เรา ต้องการอาจเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าตัวแบบที่เราถ่ายได้รับแสงที่พอดีไม่มืดหรือสว่าง เกินไป จึงควรเปลี่ยนระบบวัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุดหรือเฉลี่ยหนักกลางและเลือกวัดแสง ที่หน้าของเด็กนะครับ


เลือกระบบโฟกัสเป็นแบบต่อเนื่อง
เนื่องจากเด็กมีความซุกซนและไม่ค่อยอยู่นิ่งกับที่ ดังนั้นระบบโฟกัสแบบต่อเนื่องจะช่วยให้เราได้ภาพที่คมชัดขึ้นโดยการวางจุด โฟกัสไว้ที่บริเวณใบหน้าของเด็กตลอดเวลาของการถ่ายภาพ เมื่อได้จังหวะแล้วก็สามารถกดถ่ายภาพได้ทันทีเลยครับ


ใช้ระบบถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง
ระบบถ่ายภาพแบบต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราได้ภาพดีๆเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาพที่ดีๆบางครั้งจะเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที ดังนั้นในบางจังหวะเราอาจจะกดชัตเตอร์รัวเพื่อให้ได้ภาพทุกจังหวะที่ต้องการ และนำมาเลือกให้ภายหลังก็ได้นะครับ


เลือกรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสม
การเลือกรูรับแสงกว้างจะทำให้ฉากหลังเบลอมากกว่าการใช้รูรับแสงที่แคบและ เพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวแบบมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเก็บรายละเอียดของฉากหลังแค่ไหน โดยถ้าเราต้องการให้เห็นฉากหลังว่าอยู่ในสถานที่ใดก็อาจจะต้องปรับรูรับแสง ให้แคบลง แต่อย่างไรก็ตามเราคงต้องคำนึงถึงความเร็วชัตเตอร์ด้วย โดยถ้าความเร็วชัตเตอร์ไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้ภาพที่ออกมาเบลอได้เช่นเดียว กัน

ดังนั้นวิธีปรับตั้งให้เหมาะสมเราควรจะเริ่มปรับรูรับแสงก่อน เพื่อให้ได้ความชัดตื้นชัดลึกเหมาะสมและได้ภาพที่เราต้องการ แต่ถ้าขนาดของรูปรับแสงนั้นทำให้ความเร็วชัตเตอร์ไม่เพียงพอเราก็ใช้ ISO ช่วยโดยการดัน ISO เพิ่มสูงขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้นนั่นเอง (ลองอ่านบทความการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และ ISO เพิ่มเติมได้นะครับ) โดยเราสามารถปรับระบบกล้องให้เป็นโหมดที่ผู้ใช้สามารถปรับรูรับแสงเอง โดยกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ (Aperture Priority) เพื่อช่วยให้เราถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นครับ


เลือกสภาพแสงที่มีแสงนุ่ม
การถ่ายภาพเด็กก็เหมือนกับการถ่ายภาพ Portrait ทั่วไปโดยภาพที่ออกมาควรมีแสงที่ใกล้เคียงกันไม่ควรให้ด้านหนึ่งสว่างและอีก ด้านหนึ่งมืด ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่แตกต่างกันมากเกินไป เราอาจจะเลือกถ่ายภาพในที่ร่มหรือภายในอาคารต่างๆ หรือสนามเด็กเล่นหรือสนามหลังบ้านที่อยู่ในที่ร่มนะครับ โดยเราควรใช้แสงที่เป็นธรรมชาติและไม่ควรใช้แฟลชเนื่องจากแสงแฟลชอาจจะทำให้ เป็นแสงแข็งและอาจเป็นอันตรายกับดวงตาของเด็กได้หรืออาจทำให้เด็กกลัวการ ถ่ายภาพไปเลยนะครับ



                                                             





รอเวลาที่เหมาะสม

เราไม่ควรบังคับเด็กในการถ่ายภาพ เนื่องจากจะทำให้ความสดใจร่าเริงของเด็กหายไปและอาจจะทำให้เด็กกลัวการถ่าย ภาพไปเลยก็ได้นะครับ ดังนั้นเราควรให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอซะก่อน โดยเมื่อเด็กเริ่มเล่นเราควรรอให้เด็กเริ่มคุ้นเคยและเริ่มเล่นอย่างสนุก สนานเราจึงค่อยเริ่มเก็บภาพไปเรื่อยๆ ในบางครั้งเราอาจถ่ายภาพโดยไม่ให้เด็กรู้ตัวซึ่งก็จะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติ ได้ดียิ่งขึ้นนะครับ

การถ่ายภาพเด็กไม่ได้ยากเกินไปสำหรับเราหรอก ครับแต่อาจต้องอาศัยความอดทนเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ภาพดี และไม่ควรบังคับเด็กในการถ่ายภาพนะครับ เราควรรอเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพและก็จะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติและสามารถ เก็บความน่ารักสดใสของเด็กเพื่อเอาไว้ดูเล่นยามว่างได้นะครับ

ขอบคุณข้อมูล 
https://www.facebook.com/PanyanonPhotographer
www.ideophoto.com


วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพในสวนสัตว์

เทคนิคการถ่ายภาพในสวนสัตว์ 

 สวนสัตว์เป็นสถานที่หนึ่งที่เด็กๆชื่นชอบเป็นอย่างมาก ท่านอาจเป็นคนหนึ่งที่ได้พาบุตรหลานไปเที่ยวสวนสัตว์ แต่สำหรับผู้ที่ยังโสดก็ไปเที่ยวสวนสัตว์ได้นะครับไม่จำเป็นต้องมีบุตรหลาน ก็ได้ เพราะสวนสัตว์ยินดีตอนรับทุกท่านอยู่แล้ว แล้วสำหรับนักถ่ายรูปอย่างเราก็คงไม่ลืมที่จะพกกล้องถ่ายรูปไปด้วย เพื่อที่จะได้ถ่ายรูปสัตว์ที่เราคงไม่ได้พบเห็นทั่วไปตามบ้านเรือน คงไม่มีใครเอาฮิปโปมาเลี้ยงที่บ้านใช่ไม๊ครับ และสำหรับผู้ที่เคยถ่ายรูปสวนสัตว์กันมาบ้างก็คงจะทราบว่า ปัญหาหลักของการถ่ายรูปในสวนสัตว์คือกรงที่อยู่ตรงหน้าเราเนี่ยแหละ เพราะโฟกัสอย่างไรก็ติดกรงก่อนทุกที จะเอากรงออกก็ไม่ได้ และอีกปัญหาหนึ่งคือสัตว์ส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้ถ่ายภาพได้ค่อนข้างยาก ปัจจุบันมีทั้งสวนสัตว์เปิดและสวนสัตว์ปิดให้เราได้เลือกไปเที่ยวกัน การถ่ายรูปในสวนสัตว์เปิดก็อาจจะตัดปัญหาเรื่องกรงไปได้บ้าง แต่ถ้าเป็นสวนสัตว์ปิดก็จะเจอปัญหาเยอะหน่อย คราวนี้เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพในสวนสัตว์กันดีกว่าครับ

เลือกเลนส์ถ่ายภาพ

เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพที่ใช้ถ่ายภาพในสวนสัตว์จะใช้เลนส์เทเลเป็นสวนใหญ่ เนื่องจากข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ระยะห่างของผู้ถ่ายภาพกับสัตว์ที่เราต้องการถ่ายมีค่อนข้างมาก เนื่องจากทางสวนสัตว์คงต้องมีกฏห้ามเข้าใกล้สัตว์มากเกินไปเพื่อความปลอดภัย ของผู้ชม ดังนั้นผู้ที่มีเลนส์เทเลก็มีโอกาสในการได้ภาพมากขึ้น แต่ในบางครั้งสวนสัตว์เปิดบางแห่งเปิดโอกาสให้เราได้เข้าใกล้สัตว์ได้ค่อน ข้างมาก เราอาจจะเลือกให้เลนส์นอมอล หรือเลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพสัตว์ได้เพื่อให้ได้ภาพที่ค่อนข้างแปลกตามาก ขึ้น สิ่งที่ต้องระวังในการใช้เลนส์นอมอลหรือเลนส์มุมกว้างคือ ในการเข้าไปถ่ายรูปใกล้ๆสัตว์มากๆ อาจเกิดอันตรายได้ ถึงแม้สัตว์อาจจะไม่ดุร้าย (เพราะเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เราเข้าใกล้ได้) แต่บางครั้งสัตว์อาจจะสงสัยว่าสิ่งที่เราถือมาคืออะไร ก็เลยงับเลนส์เราเอาไปหมุนๆเล่น ก็อาจจะเกิดอันตรายกับเลนส์เราได้เหมือนกันนะครับ ก็ระวังอย่าถ่ายรูปเพลินจนลืมดูกล้องของเราด้วยนะครับ


ละลายกรงให้หายวับไปกับตา
ปัญหาหลักของการถ่ายภาพในสวนสัตว์คือกรงซึ่งปิดกันระหว่างสัตว์กับเราไว้ หลายท่านที่เคยถ่ายภาพในสวนสัตว์จะเห็นว่ากล้องของเราเวลาโฟกัสภาพที่ไรก็ ติดกรงตลอดจนเริ่มถอดใจ วิธีที่จะทำให้กล้องของเราโฟกัสไปยังสัตว์ได้คือการเปลี่ยนระบบโฟกัสเป็นแมน นวลเท่านั้นเองครับ เมื่อกล้องไม่สามารถหาโฟกัสได้ เราก็หาเองซะเลยทีนี้เราก็จะได้ภาพสัตว์ที่ชัดเจน แต่บางท่านก็ยังมีปัญหาว่า ก็ยังเห็นกรงอยู่ดีถึงแม้ว่าจะได้ภาพสัตว์ชัดแล้วก็ตาม ขอให้ท่านลองเลือกรูรับแสงให้กว้างขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดตื้น ความชัดตื้นไม่ได้แค่ทำให้ฉากหลังละลายเท่านั้นนะครับ ฉากหน้าก็ละลายได้ด้วย แต่ท่านต้องรอจังหวะให้สัตว์ออกห่างจากกรงนิดนึง เพราะถ้าสัตว์เกาะอยู่ที่กรง ยังไงก็จะติดกรงมาด้วยนะครับ ถ้าทำได้ทั้งหมดนี้ท่านจะแปลกใจว่ากรงที่กั้นอยู่ตรงหน้าเราหายไปจาก ภาพอย่างน่ามหัศจรรย์ที่เดียว





โฟกัสที่ตา การถ่ายภาพสัตว์ก็เหมือนการถ่ายภาพคน เพราะดวงตาจะสื่อถึงความรูสึกและอารมณ์ได้ค่อนข้างดี ดังนั้นเมื่อท่านถ่ายรูปสัตว์ควรโฟกันที่ตาให้ชัดไว้ เราจะได้ภาพที่สื่อถึงอารมณ์ของสัตว์และจะได้ภาพที่น่าสนใจขึ้นอีกขั้นหนึ่ง

เลือกมุมมองที่ดีและรอจังหวะ ในการถ่ายภาพสัตว์นั้นบางครั้งเราอาจจะต้องรอคอยจังหวะเพื่อให้ได้ภาพที่ เราต้องการ เนื่องจากเราไม่สามารถบังคับให้สัตว์แสดงท่าทางได้อย่างที่เราคิด ในบางครั้งสัตว์ก็อาจจะนอนหลับพักผ่อน ถ้าเราต้องการภาพสัตว์ที่ลุกขึ้นมาเดินโชว์ตัว เราก็อาจจะต้องรอให้มันตื่นก่อน แต่ท่านอย่างไปเคาะกรง เคาะกระจกให้มันตื่นนะครับเพราะจะเป็นการรบกวนมันมากเกินไป ควรจะอดทนนั่งรอจังหวะเพื่อให้ได้ภาพดีๆ บางครั้งผู้ที่นั่งรอดูพฤติกรรมของสัตว์เฉยๆ อาจจะได้ภาพสวยๆ ตลกๆ มาเก็บไว้ที่บ้านก็ได้นะครับ

ใช้ระบบโฟกัสแบบต่อเนื่อง สัตว์บางชนิดมีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างรวดเร็วมาก เช่น สัตว์จำพวกลิงหรือชะนีซึ่งสัตว์เหล่านี้จะไม่อยู่นิ่งอยู่กับที่ ดังนั้นเราอาจจะต้องปรับระบบโฟกัสเป็นแบบต่อเนื่อง เพราะให้ระบบโฟกัสของกล้องติดตามการเคลื่อนไหวของสัตว์ตลอดเวลาซึ่งจะทำให้ เรามีโอกาสได้ภาพที่ชัดมากขึ้น

อย่ารบกวนสัตว์ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคืออย่างรบกวนสัตว์มากเกินไป เช่นการเคาะกระจกเพื่อให้สัตว์ตื่น หรือขว้างปาข้าวของเข้าไปในกรงเพื่อให้สัตว์หันมาสนใจเรา หรือบางครั้งการใช้แฟลชในการถ่ายภาพสัตว์ก็อาจจะต้องพิจารณาดูว่าเหมาะสม หรือเปล่าเพราะมันก็อาจอยากจะพักผ่อนบ้าง สงสารมันเถอะนะครับ




สวนสัตว์คงเป็นอีกที่หนึ่งที่เราจะมีโอกาสได้ถ่ายภาพสัตว์ที่พบเห็นได้ยาก นอกจากที่เราจะได้ภาพแล้วเราอาจได้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แต่ละ ประเภทอีกด้วย ขอให้ท่านสนุกกับการถ่ายรูปในสวนสัตว์แต่ก็อย่าลืมเรื่องความปลอดภัยด้วยนะ ครับ อย่าถ่ายรูปเพลินจนเผลอเข้าใกล้สัตว์ที่สามารถทำอันตรายเราได้ และควรปฏิบัติตามกฏที่ทางสวนสัตว์ได้วางไว้ด้วยนะครับ

ขอบคุณข้อมูล
http://www.morguefile.com
www.ideophoto.com

 

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดองค์ประกอบภาพ

การจัดองค์ประกอบภาพ

 Composition สำหรับภาพถ่าย คือการจัดองค์ประกอบภาพ การวาง Composition ในภาพขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรของแต่ละท่าน ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัว หรือไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ใครวางองค์ประกอบภาพได้ดีกว่าก็จะได้เปรียบและอาจได้ภาพที่สวยกว่า แต่ทุกท่านไม่ต้องกังวลนะครับว่าเราจะถ่ายภาพไม่สวยเพราะจัด Composition ไม่ดี สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกฝนกันได้ แล้วเราก็จะเป็นคนหนึ่งที่วาง Composition ได้ดีไม่แพ้ใครนะครับ เรามาเริ่มศึกษาด้วยกันนะครับ

Composition ในภาพจะเกิดขึ้นจากการรวมส่วนประกอบหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน เช่น จุด เส้น รูปทรง พื้นที่ว่างในภาพ พื้นผิว หรือสี ซึ่งในแต่ละส่วนจะสื่อถึงอารมณ์ของภาพด้วยกันทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ถ่ายภาพจะสื่อถึงอะไรและจะใช้องค์ประกอบใดบ้างเข้ามาอยู่ ในภาพ อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าการวาง Composition ไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัว ดังนั้นผมอยากจะแนะนำแนวความคิด ก่อนที่เราจะวางองค์ประกอบภาพดังนี้ครับ

 คิดถึงสิ่งที่ต้องการสื่อก่อน 

ก่อนที่เราจะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ เราควรจะทราบก่อนว่าเราจะถ่ายภาพอะไร และต้องการสื่อถึงอะไร ผู้ที่เริ่มถ่ายภาพใหม่ๆหลายๆท่านจะเริ่มจากการกดชัตเตอร์ไปเรื่อยๆเมื่อพบ เห็นสิ่งที่ตัวเองสนใจ ผมไม่ได้บอกว่าความคิดนี้จะผิดนะครับ แต่ถ้าเราจะเริ่มคิดว่าเราต้องการสื่ออะไร อย่างน้อยเมื่อเรามองภาพที่เราถ่าย ก็จะทราบว่าเราถ่ายเพราะอะไร เช่น ถ้าเราเห็นดอกไม้กำลังแย้มกลีบใหม่ๆ ถ้าผู้ถ่ายภาพไม่ได้คิดอะไรก็คงจะกดถ่ายได้ภาพดอกไม้มา 1 ดอกที่มีสีสรรสวยงาม แต่ถ้าเราเริ่มคิดอีกนิดดอกไม้นี้แสดงถึงความสดใส หรือสิ่งดีๆใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้น เราก็อาจจะถ่ายดอกไม้พร้อมหยาดน้ำค้างที่ส่องแสงสะท้อนให้เห็นถึงความสดใส ซึ่งก็ถือเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นสำหรับการถ่ายภาพนะครับ

สร้างเอกภาพให้ภาพถ่าย
ในการถ่ายภาพ เราควรมีจุดสนใจในภาพไม่มากนัก โดยถ้ามีจุดสนใจในภาพเพียงที่เดียวก็จะเป็นการดีมาก เนื่องจากผู้มองภาพจะได้ไม่สับสนว่าภาพที่เราถ่ายต้องการสื่ออะไรในภาพ คำว่าจุดสนใจในภาพผมไม่ได้หมายความว่าเป็นจุดเพียงจุดเดียวนะครับ (อย่าเพิ่ง งง นะครับ) ผมขอยกตัวอย่างเช่น เราต้องการถ่ายภาพนกที่เกาะอยู่บนเสาที่เรียงยาวเป็นสิบๆ ต้น ก็ถือว่าเราสร้างภาพที่มีจุดสนใจเพียงจุดเดียว คือภาพที่เหมือนๆกันของนกที่เกาะเรียงกันไป

สร้างความโดดเด่นให้กับสิ่งที่เราสื่อ
หลังจากที่เราทราบสิ่งที่เราต้องการสื่อและภาพที่เราต้องการถ่ายมีจุด เด่นเพียงจุดเดียวในภาพแล้ว เราก็สร้างความโดดเด่นให้กับภาพถ่ายของเรา โดยอาจใช้สีที่แตกต่างกัน เช่นดอกกุหลาบสีแดงบนฉากหลังที่เป็นท้องฟ้าสีฟ้าเข้ม หรืออาจใช้แสงไฟที่สว่างสร้างจุดเด่นให้กับภาพ รวมถึงทฤษฏีต่างๆเช่น กฏสามส่วน (การแบ่งภาพถ่ายออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันและวางสิ่งที่เราต้องการถ่ายไว้บนเส้นใดเส้นหนึ่ง) จุดตัดเก้าช่อง (การแบ่งภาพถ่ายออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันทั้งแกนตั้งและแกนนอน และจะเกิดช่อง 9 ช่องในภาพนอกจากนั้นจะเกิดจุดตัดขึ้น 4 จุดในภาพให้วางสิ่งที่เราต้องการเน้นไว้ตรงจุดใดจุดหนึ่ง) การสร้างความโดดเด่นให้กับภาพถ่ายมีอีกหลายวิธี เช่นการเน้นด้วยกรอบของภาพ หรือการเบลอส่วนที่เราไม่ต้องการทำให้สิ่งที่เราต้องการเน้นเด่นชัดขึ้นมา เป็นต้น

เรียบง่ายไว้ก่อนดีกว่า
หลายๆภาพที่คนชื่นชอบเป็นเพียงภาพที่เรียบง่ายไม่ได้มีส่วนประกอบอะไรมาก ในภาพ เพราะภาพที่เรียบง่ายจะเป็นภาพที่สามารถสื่อสิ่งที่เราต้องการได้ดีกว่าภาพ ที่มีส่วนประกอบหลายๆส่วนเข้ามาด้วยกัน ดังนั้นถ้าเป็นไปได้พยายามถ่ายภาพที่เรียบง่ายเอาไว้ก่อนดีกว่าครับ

                                                            

มองหามุมมองใหม่ๆ
หลายๆท่านเมื่อเดินทางออกไปถ่ายภาพ อาจจะไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มมองหาอะไรในการถ่ายภาพและจะวางองค์ประกอบ ภาพอย่างๆร  จริงๆแล้วเมื่อเราออกไปถ่ายภาพเราอาจพบเจอภาพหลายๆภาพ แต่เราอาจมองข้ามไป สำหรับท่านที่ไม่ทราบว่าจะถ่ายอะไร ท่านลองมองหา พื้นผิวของวัตถุที่แปลกตา (เช่น พื้นผิวหาดทราย) ลวดลายที่แปลกๆ (เช่นลวดลายของต้นไม้) จังหวะที่ซ้ำๆกัน (เช่น นกที่บินมา 3 ตัวเรียงกัน) ภาพสะท้อน (เช่น เงาของตึกที่อยู่ในน้ำ) สีที่ขัดแย้งกัน (เช่นดอกไม้สีเหลืองตัดกับท้องฟ้าสีน้ำเงิน) เส้นนำสายตา (เช่น ขอบรั้วที่พุ่งตรงไปยังบุคคลที่เราต้องการถ่าย) นอกจากนี้ ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่เราสามารถหาได้เมื่อออกไปถ่ายภาพนะครับ

ทั้ง หมดข้างต้นอาจจะไม่ตรงกับทฤษฏีที่มีอยู่ ซึ่งท่านอาจจะสามารถศึกษาได้เพิ่มเติมเพิ่มฝีกฝนต่อไป ผมคิดว่าสิ่งที่เขียนมาข้างต้นอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ หลายๆคนนะครับ และเมื่อท่านได้ฝึกฝนผมคิดว่าท่านก็จะเป็นคนที่จัดองค์ประกอบภาพได้ดีคน หนึ่งที่เดียว

ขอบคุณข้อมูล
http://www.ideophoto.com

  

                                                                    

   

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพขาวดำ

เทคนิคการถ่ายภาพขาวดำ 

 สำหรับผู้ที่ถ่ายภาพมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว อาจจะรู้สึกเบื่อกับการถ่ายภาพเพราะถ่ายมาก็ได้แต่ภาพเดิมๆ ไม่มีอะไรแปลกตา วันนี้เรามาสร้างความแตกต่างให้กับภาพถ่ายของเราด้วยการเปลี่ยนจากการถ่าย ภาพสีที่เราเคยถ่ายมาเป็นการถ่ายภาพไม่มีสีกันบ้างดีกว่าครับ ความจริงการถ่ายภาพขาวดำคงไม่ยากอะไร ก็แค่เปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพเป็นภาพขาวดำเราก็ได้ภาพขาวดำแล้ว แต่ในโลกของการถ่ายภาพ มีนักถ่ายภาพหลายๆท่านที่สนใจและศึกษาการถ่ายภาพขาวดำอย่างจริงจัง และถือเป็นเทคนิคขั้นสูงเลยทีเดียว

การถ่ายภาพขาวดำนั้นเราไม่สามารถ ใช้สีเพื่อสร้างความโดดเด่นของภาพได้ ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงส่วนประกอบอื่นๆในภาพเพื่อสร้างให้ภาพมีความสวยงาม ยกตัวอย่างเช่น การไล่โทนสีของภาพ แสง หรือการจัดองค์ประกอบภาพ วันนี้เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพขาวดำอย่างง่ายๆ นอกเหนือจากการแค่เปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพเป็นภาพขาวดำกันดีกว่า เผื่อว่าเราจะได้ภาพสวยๆ เก็บไว้เป็นอัลบั้มส่วนตัว บทความนี้คงไม่ได้เน้นให้ถ่ายภาพเป็น RAW หรือถ่ายภาพสีเพื่อมาปรับแต่งเป็นภาพขาวดำในโปรแกรมอีกทีนะครับ เพราะอยากให้แค่ได้ถ่ายภาพแปลกๆ มาดูเล่นสวยๆเท่านั้นเอง เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพขาวดำกันดีกว่าครับ

                                                              
 

 
เลือกตัวแบบที่เรียบง่าย

ก็คงไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าการถ่ายภาพขาวดำต้องเลือกตัวแบบที่เรียบง่าย เท่านั้นถึงถ่ายได้ เพียงแค่การเลือกตัวแบบที่เรียบง่ายนั้นจะทำให้ง่ายต่อการสื่อสารกับผู้มอง ภาพ และผู้ถ่ายภาพยังสามารถเน้นไปยังโทนสีของภาพ หรือการจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายการตัวแบบที่ซับซ้อน สรุปง่ายๆคือการเลือกตัวแบบที่เรียบง่ายจะทำให้การถ่ายภาพขาวดำให้สวยงามทำ ได้ง่ายกว่าตัวแบบที่มีความซับซ้อนนั่นเอง


มองสีเป็นขาวดำ
เนื่องจากภาพขาวดำนั้นจะมีสีแค่ 3 สีคือขาว ดำ และเทา ดังนั้นภาพสีที่เรามองเห็นเมื่อถ่ายออกมาเราจะเห็นเพียงแค่ 3 สีเท่านั้น ผู้ถ่ายภาพที่สามารถจิตนาการภาพสีเป็นภาพขาวดำได้จะได้เปรียบในการถ่ายภาพ ประเภทนี้มาก เพราะภาพสีที่สวยงามอาจจะไม่ได้สวยงามเมื่อแปลงเป็นภาพขาวดำก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราถ่ายภาพดอกไม้สีแดงบนใบไม้สีเขียวซึ่งสีตัดกันอย่างสวยงาม แต่เมื่อแปลงเป็นภาพขาวดำ ทั้งสองสิ่งกลายเป็นสีเทาซึ่งไม่มีความโดดเด่นอะไรเลยก็ได้ ดังนั้นในการถ่ายภาพขาวดำเราอาจจะคำนึงถึงโทนสีเป็นหลัก เช่นสีที่เข้มๆ ก็จะกลายเป็นสีเทาเข้มๆ หรือสีอ่อนๆ ก็จะออกเป็นสีเทาอ่อนๆ


แสงจากด้านข้าง
แสงจากด้านข้างจะสร้างมิติให้กับภาพมากขึ้น เนื่องจากตัวแบบที่เราถ่ายเมื่อมีแสงมาจากด้านข้างจะทำให้มีส่วนของ Highlight และมีส่วนของเงาเกิดขึ้น ภาพขาวดำส่วนใหญ่จะมีการไล่โทนสีจากขาวเป็นดำ หรือจากดำเป็นขาวได้อย่างลงตัว ดังนั้นเราควรมองหาตัวแบบที่มีลักษณะที่มีทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างอยู่ในภาพ เดียว และแสงจากด้านข้างจะสามารถสร้างส่วนมืดและส่วนสว่างให้กับภาพถ่ายและสร้าง มิติให้กับภาพที่เราถ่ายได้มากขึ้น

                                                           




 ตัดสินใจเลือกคอนทราสต์ (Contrast)

คอนทราสต์ของภาพจะมีผลกับภาพขาวดำค่อนข้างมาก โดยการเลือกคอนทราสต์ที่ค่อนข้างมากจะทำให้ภาพมองเห็นส่วนมืดและส่วนสว่าง อย่างชัดเจน ในขณะที่เลือกคอนทราสต์ต่ำ จะทำให้มีการไล่โทนสีในส่วนมืดและส่วนสว่างค่อนข้างนุ่มนวลกว่า อันนี้ก็คงต้องแล้วแต่ผู้ถ่ายภาพว่าต้องการให้ภาพเป็นอย่างไร เพราะภาพขาวดำที่สวยๆที่เห็นกันก็จะมีทั้งภาพที่คอนทราสต์ต่ำ และคอนทราสต์สูงเช่นเดียวกัน (การปรับเปลี่ยนคอนทราสต์สามารถอ่านได้จากบทความ Picture Style นะครับ)


จัดองค์ประกอบภาพ
การถ่ายรูปให้สวยงามคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพสีหรือภาพขาวดำ เพียงแต่ว่าการจัดองค์ประกอบภาพในภาพขาวดำ จะไม่มีส่วนประกอบของสีเข้ามาเกี่ยวข้องแต่จะคำนึงถึงโทนของสี ส่วนองค์ประกอบของภาพอื่นๆก็ยังคงต้องให้ความสำคัญเช่นเดิม (ลองอ่านเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) เพิ่มเติมนะครับ)

การ ถ่ายภาพขาวดำให้สวยงามคงต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร แต่ก็คงไม่ยากเกินไปสำหรับเราหรอกครับ ลองฝึกฝนถ่ายภาพในหลายๆแบบดู และเราก็จะรูว่าภาพประเภทไหนเป็นภาพที่เราถนัดและชอบ ไม่แน่ว่าภาพขาวดำที่เราไม่เคยสนใจอาจจะเป็นภาพที่เราชอบและถนัดก็ได้นะครับ

                                                           




 ขอบคุณข้อมูล
 www.ideophoto.com

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพดอกไม้ให้สวยงาม


    

การถ่ายภาพดอกไม้ให้สวยงาม 3 วิธีที่จะช่วยให้ภาพดอกไม้มีความน่าสนใจ...เบ่งบานตระการตา
    1. เวลาคือหัวใจ
       ช่างเช้าตรู่คือเวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพดอกไม้ เนื่องจากความชื้นจะมีอยู่สูงรวมทั้งหยดน้ำและ
     ช่วงอาทิตย์ขึ้นก็ยังช่วยสร้างอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างดี อย่าถ่ายภาพในเวลากลางวันเนื่องจาก
     สภาพแสงในเวลานั้นแข็งกระด้างเกินไป
                                                        

     2. ดึงจุดเด่นของภาพโดยยอมตัดองค์ประกอบอื่นไปบ้าง
       สถานการณ์ที่พบได้บ่อยคือเมื่อมองผ่านกล้องถ่ายรูป จะพบว่ามีหลายจุดในภาพที่สวยงามและเราก็อยากจะเก็บองค์ประกอบทุกจุดนั้นให้มาอยู่ในภาพเดียว โดยลืมคำนึงถึงว่าภาพนั้นจะดูเรียบและขาดความน่าสนใจไปเลยทีเดียว

    3. เรียนรู้ที่จะถ่ายภาพย้อนแสง
         เนื่องจากวิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ภาพที่เปี่ยมไปด้วยบรรยากาศที่สวยงาม และให้คุณตื่นแต่เช้า
      เพื่อหาสภาพแสงที่ดีที่

ขอบคุณภาพจาก
http://www.morguefile.com/archive

                                                               

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการ...เพิ่มระยะชัดลึก

วิธีการ...เพิ่มระยะชัดลึก

    ระยะชัดลึก( Depth of field) คืออะไร

              ระยะชัดลึกคือปริมาณของภาพที่มีความคทชัดตั้งแต่จุดที่ใกล้ที่สุดไปจนถึงจุดที่ไกลที่สุด
           ระยะชัดลึกขึ้นอยู่กับสองสิ่งได้แก่ ช่องรับแสงที่ใช้ และระยะห่างจากตัวกล้องและตัวแบบ
           การถ่ายภาพด้วยช่องรับแสงขานดเล็ก อย่างเช่น f/16 จะให้ระยะชัดลึกที่สูงที่สุด



                                                           

   การควบคุมความชัดลึก

       คุณสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ด้วยตัวเอง ความชัดลึกของภาพกำหนดโดยขนาดของ Circle of confusion ซึ่งถ้าเราให้เลนส์แต่ละยี่ห้อมีขนาด  Circle of confusion  เท่ากันแล้ว เราจะรู้ได้ว่าเลนส์ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะแพงหรือถูกเพียงใด หากมีทางยาวโฟกัสเท่ากันและขนาดรูรับแสงเท่ากัน จะมีระยะชัดลึกเท่ากันด้วยอัตราการขยายภาพไม่มีผลต่อความชัดลึกของภาพดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้และเราสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ 3 วิธี
      
การควบคุมขนาดรูรับแสง (F-Number)
    การลดขนาดรูรับแสงลง จะทำให้ระยะชัดลึกด้านหน้าและด้านหลังจุดปรับความชัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าความชัดที่เห็นในช่องมองภาพนั้นเป็นความชัดที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุด หากต้องการตรวจสอบว่าค่ารูรับแสงที่ใช้จะทำให้ระยะชัดลึกมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้โดยการกดปุ่มเช็กชัดลึกที่ตัวกลอ้ง (ถ้ามี)
    
 ระยะปรับความชัด ( Focusing distance) 
    ระยะชัดลึกจะแปรผันตามระยะชัด การปรับความชัดใกล้ขึ้นจะทำให้ภาพมีความชัดลึกลดลง พูดง่ายๆคือ ยุ่งถ่ายภาพใกล้มากเท่าใด ภาพก็จะมีระยะชัดน้อยลงตามลำดับ
    
ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal Length)  
    เมื่อถ่ายภาพที่ระยะห่างและขนาดรูรับแสงเดียวกัน เลนส์เทเลโฟโต้จะให้ภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยกว่าเลนส์มุมกว้าง ยิ่งทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเท่าไร ช่วงระยะชัดลึกก็จะน้อยลงตามลำดับ



              
                                                                


บทสรุป
 
        คุณสามารถนำความรู้นี้ และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นจะช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องของการควบคุมระยะชัดลึกเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพให้ชัดตื้นเช่นถ่ายภาพบุคคลให้ฉากหลังเบลอต้องเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้เช่น 100 หรือ 200 มม.


ติดต่อสอบถาม
 

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Tips for shooting wildlife.

Wildlife photos. The topic of photography that has been hugely popular.
Wildlife photography is one of the experiences that can create headaches and give life to you the most. Scoffs because you need to save the image model that is often disliked you. And I did not even walk out your front camera for birds, mammals and animals without backbone. These animals are considered to be a master hunter. And they will do whatever it takes to thwart photographers. When we were in the invasion and destruction of their habitat. How are we going to put it? And they know that we do not eat them?
You just can not accept that wildlife photography is a laborious task than shooting people or landscapes. And often you need to back out without hands, to be able to demonstrate your efforts on it. Yes, but that it would be impossible. And rewarded for their patience in working with a model that does not cooperate with you, it is a powerful image which is usually the moment we do not see each other often.
Planning and research is the first thing you need to get started. Knowing the habits and habitats of the model, it lets you shoot at them. And from henceforth tips page. Stunning wildlife images were not within reach anymore.                                                   

                                                                          
                                                                        


Consider the backdrop in your photos.
One of the significant disturbance of the models are packed with details and a small image in the background so whenever possible. You should choose a background color and a clean uniform. It does not matter whether it is brighter than the background. (Like the sky) or darker (indoor shrubs focus) If your bird has a sharp focus. If you held a mallet for Nylon. You can control these environmental properly.
The maximum resolution.
As the sun shines down directly, you can use a higher shutter speed and the ISO low light, but this will cause harsh shadows that obscure the details of delicate feathers. Choosing this model under the shade. Such as under a tree or under the fence or wall. Will help raise the profile of your model. The soft light will reveal the texture and pattern of the feathers are subtle.
Ready for action.
The landing and takeoff area with a limited amount of time that this fast. You can not rely on the auto focus to lock focus in time. So you use the One-Shot AF mode button and the AF-Activation. To focus on the mallet in advance so you can prepare to release any models that appeared in a frame.
Set the exposure in advance.
In addition to pre-set the focus. You should also set the exposure prior to the model, the presence as well. Allows you to set your camera to a tripod. And focus to the mallet. Taken with Manual mode. Mode or set your Aperture (Aperture Priority) in order to be able to control the depth of the image. Then try to see if you need to adjust the exposure compensation or not. (By changing the shutter speed with the Manual).
Depth control.
Although the backdrop to a clean backdrop in our dreams. But the situation is not always so, however, you can always keep eye contact with disturbing backdrop to the depth to the background out of focus. Aperture value you have to use it, depending on the focal length you use. And the distance between the subject and the background. But small is the best aperture to extract the background out of focus. While your bird still sharp. Try using a function to check the depth of the image (Depth of Field preview function) on your camera for precision.
Recommended accessories

    
Birds in the garden, most of them are small and shy. So you need a lens focal length of the lens is relatively high, Sigma 120-400 mm f/4.5-5.6 DG OS HSM is a lens that seems to work well.
    
If your budget is high enough to buy a new lens. Tele converter 2x size may be your answer. This device will make 55-200 mm lens and a powerful lens is not difficult.


                                                                           

 
Focal point to be.
Let's say you want to shoot the birds in flight. (Which is amazing birds provided a lot of it is like that) to maintain a clear focus, it is extremely important. Tracking Auto Focus modes to choose from and the central focal point. Because this will be the most sensitive auto focus your Then, as you shoot. Also serves to focus the camera continuously as you pan the camera according to your model.
Use focus lock.
To help the AF system to lock your position precisely. You use the AF button on the back of the camera. (While the model is the focal point in the middle), this method allows the AF system works without you having to press the shutter button halfway down, which makes the light change as well. And when you focus it. You can release the shutter immediately.
Burst.
You have to shoot flying birds rapid succession several shots to get the best picture, just a single image. Allows you to set the shooting mode to continuous, however we do not recommend that you press the shutter button to dub like a machine gun. The shutter release time frame for a 3-5 should help prevent the buffer is full because lots of pictures. It also does not cause a "hold" as it cleared the data.
Switching to manual mode, set the shutter speed manually.
Depth is not an issue for a bird flying in the distance. Because you tend to focus to infinity in time like this. So instead you use the manual mode to Aperture (Aperture Priority) mode, you can adjust the sensitivity shutter (Shutter Priority), so that you can control the motion in it. The shutter speed to "perfect" it is likely to be high enough to stop the movement of the bird sharp. But leave the ends of the wings are blurred slightly to reflect the actual fly. 1/250-1/500 seconds around the shutter will result in unintended good.
System stabilizer.
In tracking a bird in flight. You also need to hold the camera by hand, so that you can move freely. Unfortunately, doing this will make it vulnerable to vibration. If your camera has stabilization (Image Stabilisation) you should not forget to turn the system to reduce the vibration that occurs. If your lens with this system. You just do not forget to turn VR or IS system commands as well.
Recommended accessories

    
Lens 500 mm f / 4 lens is the "standard" for shooting birds. It is smaller and lighter than the 600mm lens, but it allows you to get close enough to the model.
    
Bagapr Portable allows you to get closer than the lens, and the cost was much lower. The model folding chair I can put into it. Because if you have to wait a long time shooting. You would feel like to sit on me!

Fashion shoot- Bombay Beach - Emily Soto Photography