วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกแสงอรุณภาพแสงอาทิตย์

เทคนิคการถ่าย พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก

 
แสงโทนอุ่นสีทอง สาดส่องมุมด้านข้าง ทำให้การถ่ายภาพดูมีมิติ
ช่วง เวลาแห่งการรอคอยของบรรดานักถ่ายภาพ คือ ช่วงเวลาที่ตะวันใกล้จะลับขอบฟ้า หรือใกล้จะโผล่มาสวัสดียามเช้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่มักจะได้ภาพสวยๆ ท่ามกลางบรรยากาศรอบข้างไม่ว่าจะเป็นผืนน้ำในทะเล หมอกยามเช้าบนภูเขา หรือแม้กระทั่ง พระอาทิตย์ขึ้นที่ยอดตึก

หลังจากต้องต่อสู่ กับความง่วงนอนยามเช้า หรือความเหนื่อยล้า ที่ตะลุยเที่ยวกันทั้งวัน ก่อนอื่น ในช่วงเวลาที่นั่งพักผ่อน รอช่วงนาทีทอง เรามาปรับโหมดการถ่ายภาพกันก่อน โหมดที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก และขึ้น สามารถใช้โหมดอะไรก็ได้ ตามความถนัดของแต่ละคน หรือจะเลือกโหมด SCN พระอาทิตย์ตกดิน แต่สิ่งสำคัญ สำหรับการถ่ายภาพแนวนี้ นั่นคือการวัดแสง เพราะปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ สีสันท้องฟ้า ไม่สดเหมือนที่ตาเห็น หรือระอาทิตย์ก็ขาวโอเวอร์จนมองไม่เห็นเส้นขอบวงกลม การแก้ปัญหา เป็นเรื่องไม่ยาก เพียงต้องรู้เวลา และวัดแสงในจุดที่เราต้องการให้คงรายละเอียด เช่นถ้าต้องการให้เห็นเส้นขอบพระอาทิตย์ ก็วัดแสงที่ขอบดวงอาทิตย์ แต่ต้องในเวลาที่แสงไม่จ้าเกินไป และหากต้องการให้สีสันของท้องฟ้ายังคงสดเท่าที่ตาเห็น ก็ให้กล้องวัดแสงที่ท้องฟ้านั่นเอง

เมื่อเช็ทค่ากล้อง วัดแสง สร้างสีสันให้ได้ตามจินตนาการ หรือตามที่ตาเรามองเห็นกันแล้ว แต่จะเก็บภาพอย่างไร ให้สวยน่าประทับใจ วันนี้ ได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพลักษณะนี้มาฝากค่ะ

ใส่ใจกับการถ่ายภาพ ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน
ช่วง เวลา ที่แสงทำมุมเฉียง ก่อนพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า สร้างภาพที่อยู่ตรงหน้าให้มีมิติ ไม่ว่าจะถ่ายตามแสง ย้อนแสง มักได้ภาพที่ดีเสมอ ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยที่จะถ่ายภาพในช่วงเวลานี้ แต่อย่าเพลิน จนลืมเซฟแบตเตอรี่ไว้ถ่ายจุดไคลแมกซ์ ตอนพระอาทิตย์ตกด้วยหละ


ภาพแบบ Silhouette ภาพที่เกิดเงาดำ ช่วยเน้นให้ท้องฟ้าเด่น
ใน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์คล้อยต่ำ จนไม่สามารถสาดส่องพื้นดินให้สว่างได้นั้น ความแตกต่างของแสงระหว่างท้องฟ้า กับผืนโลกจะมากขึ้น จนทำให้เกิดเงาดำ เราสามารถพลิกวิกฤติ ให้เป็นโอกาสได้ ด้วยการถ่ายภาพ แบบ Silhouette หรือ ภาพที่เกิดเงาดำ โดยการปิดแฟลช วัดแสงที่ท้องฟ้า แล้วเลื่อนจัดองประกอบ เทคนิคในการถ่ายภาพแนวนี้ คือหาจุดเด่นเป็นรูปทรงที่เด่นชัด และหากมีน้ำ หรือสิ่งที่สะท้อนเงาของท้องฟ้า และดวงอาทิตย์ได้ จะทำให้ภาพ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

เปลี่ยน ไวท์บาล้านซ์ ให้สีแปลกตา และน่าสนใจ
สำหรับ ใครที่เบื่อหน่าย กับภาพพระอาทิตย์ตกดิน สีเหลืองส้ม ก็สามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายในยุคกล้องดิจิตอลได้ ด้วยการเปลี่ยน ไวท์บาล้านซ์ (ในยุคฟิล์มต้องใช้ฟิลเตอร์สี) เมื่อเปลี่ยนไวท์บาล้านซ์ ภาพจะเปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ สร้างความสนุกในการถ่ายภาพ และสามารถเลือกโทนสีภาพได้ตามต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น