วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพขาวดำ

เทคนิคการถ่ายภาพขาวดำ 

 สำหรับผู้ที่ถ่ายภาพมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว อาจจะรู้สึกเบื่อกับการถ่ายภาพเพราะถ่ายมาก็ได้แต่ภาพเดิมๆ ไม่มีอะไรแปลกตา วันนี้เรามาสร้างความแตกต่างให้กับภาพถ่ายของเราด้วยการเปลี่ยนจากการถ่าย ภาพสีที่เราเคยถ่ายมาเป็นการถ่ายภาพไม่มีสีกันบ้างดีกว่าครับ ความจริงการถ่ายภาพขาวดำคงไม่ยากอะไร ก็แค่เปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพเป็นภาพขาวดำเราก็ได้ภาพขาวดำแล้ว แต่ในโลกของการถ่ายภาพ มีนักถ่ายภาพหลายๆท่านที่สนใจและศึกษาการถ่ายภาพขาวดำอย่างจริงจัง และถือเป็นเทคนิคขั้นสูงเลยทีเดียว

การถ่ายภาพขาวดำนั้นเราไม่สามารถ ใช้สีเพื่อสร้างความโดดเด่นของภาพได้ ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงส่วนประกอบอื่นๆในภาพเพื่อสร้างให้ภาพมีความสวยงาม ยกตัวอย่างเช่น การไล่โทนสีของภาพ แสง หรือการจัดองค์ประกอบภาพ วันนี้เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพขาวดำอย่างง่ายๆ นอกเหนือจากการแค่เปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพเป็นภาพขาวดำกันดีกว่า เผื่อว่าเราจะได้ภาพสวยๆ เก็บไว้เป็นอัลบั้มส่วนตัว บทความนี้คงไม่ได้เน้นให้ถ่ายภาพเป็น RAW หรือถ่ายภาพสีเพื่อมาปรับแต่งเป็นภาพขาวดำในโปรแกรมอีกทีนะครับ เพราะอยากให้แค่ได้ถ่ายภาพแปลกๆ มาดูเล่นสวยๆเท่านั้นเอง เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพขาวดำกันดีกว่าครับ

                                                              
 

 
เลือกตัวแบบที่เรียบง่าย

ก็คงไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าการถ่ายภาพขาวดำต้องเลือกตัวแบบที่เรียบง่าย เท่านั้นถึงถ่ายได้ เพียงแค่การเลือกตัวแบบที่เรียบง่ายนั้นจะทำให้ง่ายต่อการสื่อสารกับผู้มอง ภาพ และผู้ถ่ายภาพยังสามารถเน้นไปยังโทนสีของภาพ หรือการจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายการตัวแบบที่ซับซ้อน สรุปง่ายๆคือการเลือกตัวแบบที่เรียบง่ายจะทำให้การถ่ายภาพขาวดำให้สวยงามทำ ได้ง่ายกว่าตัวแบบที่มีความซับซ้อนนั่นเอง


มองสีเป็นขาวดำ
เนื่องจากภาพขาวดำนั้นจะมีสีแค่ 3 สีคือขาว ดำ และเทา ดังนั้นภาพสีที่เรามองเห็นเมื่อถ่ายออกมาเราจะเห็นเพียงแค่ 3 สีเท่านั้น ผู้ถ่ายภาพที่สามารถจิตนาการภาพสีเป็นภาพขาวดำได้จะได้เปรียบในการถ่ายภาพ ประเภทนี้มาก เพราะภาพสีที่สวยงามอาจจะไม่ได้สวยงามเมื่อแปลงเป็นภาพขาวดำก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราถ่ายภาพดอกไม้สีแดงบนใบไม้สีเขียวซึ่งสีตัดกันอย่างสวยงาม แต่เมื่อแปลงเป็นภาพขาวดำ ทั้งสองสิ่งกลายเป็นสีเทาซึ่งไม่มีความโดดเด่นอะไรเลยก็ได้ ดังนั้นในการถ่ายภาพขาวดำเราอาจจะคำนึงถึงโทนสีเป็นหลัก เช่นสีที่เข้มๆ ก็จะกลายเป็นสีเทาเข้มๆ หรือสีอ่อนๆ ก็จะออกเป็นสีเทาอ่อนๆ


แสงจากด้านข้าง
แสงจากด้านข้างจะสร้างมิติให้กับภาพมากขึ้น เนื่องจากตัวแบบที่เราถ่ายเมื่อมีแสงมาจากด้านข้างจะทำให้มีส่วนของ Highlight และมีส่วนของเงาเกิดขึ้น ภาพขาวดำส่วนใหญ่จะมีการไล่โทนสีจากขาวเป็นดำ หรือจากดำเป็นขาวได้อย่างลงตัว ดังนั้นเราควรมองหาตัวแบบที่มีลักษณะที่มีทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างอยู่ในภาพ เดียว และแสงจากด้านข้างจะสามารถสร้างส่วนมืดและส่วนสว่างให้กับภาพถ่ายและสร้าง มิติให้กับภาพที่เราถ่ายได้มากขึ้น

                                                           




 ตัดสินใจเลือกคอนทราสต์ (Contrast)

คอนทราสต์ของภาพจะมีผลกับภาพขาวดำค่อนข้างมาก โดยการเลือกคอนทราสต์ที่ค่อนข้างมากจะทำให้ภาพมองเห็นส่วนมืดและส่วนสว่าง อย่างชัดเจน ในขณะที่เลือกคอนทราสต์ต่ำ จะทำให้มีการไล่โทนสีในส่วนมืดและส่วนสว่างค่อนข้างนุ่มนวลกว่า อันนี้ก็คงต้องแล้วแต่ผู้ถ่ายภาพว่าต้องการให้ภาพเป็นอย่างไร เพราะภาพขาวดำที่สวยๆที่เห็นกันก็จะมีทั้งภาพที่คอนทราสต์ต่ำ และคอนทราสต์สูงเช่นเดียวกัน (การปรับเปลี่ยนคอนทราสต์สามารถอ่านได้จากบทความ Picture Style นะครับ)


จัดองค์ประกอบภาพ
การถ่ายรูปให้สวยงามคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพสีหรือภาพขาวดำ เพียงแต่ว่าการจัดองค์ประกอบภาพในภาพขาวดำ จะไม่มีส่วนประกอบของสีเข้ามาเกี่ยวข้องแต่จะคำนึงถึงโทนของสี ส่วนองค์ประกอบของภาพอื่นๆก็ยังคงต้องให้ความสำคัญเช่นเดิม (ลองอ่านเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) เพิ่มเติมนะครับ)

การ ถ่ายภาพขาวดำให้สวยงามคงต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร แต่ก็คงไม่ยากเกินไปสำหรับเราหรอกครับ ลองฝึกฝนถ่ายภาพในหลายๆแบบดู และเราก็จะรูว่าภาพประเภทไหนเป็นภาพที่เราถนัดและชอบ ไม่แน่ว่าภาพขาวดำที่เราไม่เคยสนใจอาจจะเป็นภาพที่เราชอบและถนัดก็ได้นะครับ

                                                           




 ขอบคุณข้อมูล
 www.ideophoto.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น