วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดองค์ประกอบภาพ

การจัดองค์ประกอบภาพ

 Composition สำหรับภาพถ่าย คือการจัดองค์ประกอบภาพ การวาง Composition ในภาพขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรของแต่ละท่าน ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัว หรือไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ใครวางองค์ประกอบภาพได้ดีกว่าก็จะได้เปรียบและอาจได้ภาพที่สวยกว่า แต่ทุกท่านไม่ต้องกังวลนะครับว่าเราจะถ่ายภาพไม่สวยเพราะจัด Composition ไม่ดี สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกฝนกันได้ แล้วเราก็จะเป็นคนหนึ่งที่วาง Composition ได้ดีไม่แพ้ใครนะครับ เรามาเริ่มศึกษาด้วยกันนะครับ

Composition ในภาพจะเกิดขึ้นจากการรวมส่วนประกอบหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน เช่น จุด เส้น รูปทรง พื้นที่ว่างในภาพ พื้นผิว หรือสี ซึ่งในแต่ละส่วนจะสื่อถึงอารมณ์ของภาพด้วยกันทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ถ่ายภาพจะสื่อถึงอะไรและจะใช้องค์ประกอบใดบ้างเข้ามาอยู่ ในภาพ อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าการวาง Composition ไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัว ดังนั้นผมอยากจะแนะนำแนวความคิด ก่อนที่เราจะวางองค์ประกอบภาพดังนี้ครับ

 คิดถึงสิ่งที่ต้องการสื่อก่อน 

ก่อนที่เราจะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ เราควรจะทราบก่อนว่าเราจะถ่ายภาพอะไร และต้องการสื่อถึงอะไร ผู้ที่เริ่มถ่ายภาพใหม่ๆหลายๆท่านจะเริ่มจากการกดชัตเตอร์ไปเรื่อยๆเมื่อพบ เห็นสิ่งที่ตัวเองสนใจ ผมไม่ได้บอกว่าความคิดนี้จะผิดนะครับ แต่ถ้าเราจะเริ่มคิดว่าเราต้องการสื่ออะไร อย่างน้อยเมื่อเรามองภาพที่เราถ่าย ก็จะทราบว่าเราถ่ายเพราะอะไร เช่น ถ้าเราเห็นดอกไม้กำลังแย้มกลีบใหม่ๆ ถ้าผู้ถ่ายภาพไม่ได้คิดอะไรก็คงจะกดถ่ายได้ภาพดอกไม้มา 1 ดอกที่มีสีสรรสวยงาม แต่ถ้าเราเริ่มคิดอีกนิดดอกไม้นี้แสดงถึงความสดใส หรือสิ่งดีๆใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้น เราก็อาจจะถ่ายดอกไม้พร้อมหยาดน้ำค้างที่ส่องแสงสะท้อนให้เห็นถึงความสดใส ซึ่งก็ถือเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นสำหรับการถ่ายภาพนะครับ

สร้างเอกภาพให้ภาพถ่าย
ในการถ่ายภาพ เราควรมีจุดสนใจในภาพไม่มากนัก โดยถ้ามีจุดสนใจในภาพเพียงที่เดียวก็จะเป็นการดีมาก เนื่องจากผู้มองภาพจะได้ไม่สับสนว่าภาพที่เราถ่ายต้องการสื่ออะไรในภาพ คำว่าจุดสนใจในภาพผมไม่ได้หมายความว่าเป็นจุดเพียงจุดเดียวนะครับ (อย่าเพิ่ง งง นะครับ) ผมขอยกตัวอย่างเช่น เราต้องการถ่ายภาพนกที่เกาะอยู่บนเสาที่เรียงยาวเป็นสิบๆ ต้น ก็ถือว่าเราสร้างภาพที่มีจุดสนใจเพียงจุดเดียว คือภาพที่เหมือนๆกันของนกที่เกาะเรียงกันไป

สร้างความโดดเด่นให้กับสิ่งที่เราสื่อ
หลังจากที่เราทราบสิ่งที่เราต้องการสื่อและภาพที่เราต้องการถ่ายมีจุด เด่นเพียงจุดเดียวในภาพแล้ว เราก็สร้างความโดดเด่นให้กับภาพถ่ายของเรา โดยอาจใช้สีที่แตกต่างกัน เช่นดอกกุหลาบสีแดงบนฉากหลังที่เป็นท้องฟ้าสีฟ้าเข้ม หรืออาจใช้แสงไฟที่สว่างสร้างจุดเด่นให้กับภาพ รวมถึงทฤษฏีต่างๆเช่น กฏสามส่วน (การแบ่งภาพถ่ายออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันและวางสิ่งที่เราต้องการถ่ายไว้บนเส้นใดเส้นหนึ่ง) จุดตัดเก้าช่อง (การแบ่งภาพถ่ายออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันทั้งแกนตั้งและแกนนอน และจะเกิดช่อง 9 ช่องในภาพนอกจากนั้นจะเกิดจุดตัดขึ้น 4 จุดในภาพให้วางสิ่งที่เราต้องการเน้นไว้ตรงจุดใดจุดหนึ่ง) การสร้างความโดดเด่นให้กับภาพถ่ายมีอีกหลายวิธี เช่นการเน้นด้วยกรอบของภาพ หรือการเบลอส่วนที่เราไม่ต้องการทำให้สิ่งที่เราต้องการเน้นเด่นชัดขึ้นมา เป็นต้น

เรียบง่ายไว้ก่อนดีกว่า
หลายๆภาพที่คนชื่นชอบเป็นเพียงภาพที่เรียบง่ายไม่ได้มีส่วนประกอบอะไรมาก ในภาพ เพราะภาพที่เรียบง่ายจะเป็นภาพที่สามารถสื่อสิ่งที่เราต้องการได้ดีกว่าภาพ ที่มีส่วนประกอบหลายๆส่วนเข้ามาด้วยกัน ดังนั้นถ้าเป็นไปได้พยายามถ่ายภาพที่เรียบง่ายเอาไว้ก่อนดีกว่าครับ

                                                            

มองหามุมมองใหม่ๆ
หลายๆท่านเมื่อเดินทางออกไปถ่ายภาพ อาจจะไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มมองหาอะไรในการถ่ายภาพและจะวางองค์ประกอบ ภาพอย่างๆร  จริงๆแล้วเมื่อเราออกไปถ่ายภาพเราอาจพบเจอภาพหลายๆภาพ แต่เราอาจมองข้ามไป สำหรับท่านที่ไม่ทราบว่าจะถ่ายอะไร ท่านลองมองหา พื้นผิวของวัตถุที่แปลกตา (เช่น พื้นผิวหาดทราย) ลวดลายที่แปลกๆ (เช่นลวดลายของต้นไม้) จังหวะที่ซ้ำๆกัน (เช่น นกที่บินมา 3 ตัวเรียงกัน) ภาพสะท้อน (เช่น เงาของตึกที่อยู่ในน้ำ) สีที่ขัดแย้งกัน (เช่นดอกไม้สีเหลืองตัดกับท้องฟ้าสีน้ำเงิน) เส้นนำสายตา (เช่น ขอบรั้วที่พุ่งตรงไปยังบุคคลที่เราต้องการถ่าย) นอกจากนี้ ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่เราสามารถหาได้เมื่อออกไปถ่ายภาพนะครับ

ทั้ง หมดข้างต้นอาจจะไม่ตรงกับทฤษฏีที่มีอยู่ ซึ่งท่านอาจจะสามารถศึกษาได้เพิ่มเติมเพิ่มฝีกฝนต่อไป ผมคิดว่าสิ่งที่เขียนมาข้างต้นอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ หลายๆคนนะครับ และเมื่อท่านได้ฝึกฝนผมคิดว่าท่านก็จะเป็นคนที่จัดองค์ประกอบภาพได้ดีคน หนึ่งที่เดียว

ขอบคุณข้อมูล
http://www.ideophoto.com

  

                                                                    

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น